แหล่งเรียนรู้/ปราชญ์ชาวบ้าน




ผลิตภัณฑ์         การสานผลิตภัณฑ์จากเส้นกก
ผู้จัดทำ       นางรัดดาวรรณ     อุดมพันธ์   หรือแม่แอ๋ว
Facebook  เจ้  แอ๋ว     ID Line  0878564519
ที่อยู่      124  หมู่  ๓  บ้านทมป่าข่า  ต.ทมนางาม  อ.โนนสะอาด  จ.อุดรธานี
เบอร์โทรศัพท์ 0878564594

            กลุ่มแม่บ้าน  บ้านทมป่าข่า  นำโดยนางรัดดาวรรณ  อุดมพันธ์  ได้นำความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ประเภทจักสานมาประยุกต์  และถ่ายทอดให้กลุ่มแม่บ้าน  ผู้สนใจ  โดยนำต้นกกตากแห้งมาประยุกต์สานหมวก สานกระเป่าและอื่นๆ โดย นำต้นกกอายุ 4 – 5  เดือน  มาตากให้แห้ง  แล้วฉีกแยกตอกด้วยเข็ม  ให้ได้ขนาดเท่ากัน  แล้วนำมาสานโดยใช้ลายสานไขว้  และเสริมหลักไปเรื่อย ๆ   จนได้ขนาดความลึกและความกว้างของปีกหมวกพอดีเก็บริมกันลุ่ย  เมื่อประดิษฐ์หมวกสำเร็จหลาย ๆ  ใบ  ก็เกิดแนวคิดในการตกแต่งลาย  ย้อมสีกก  ลายส่วนของหัวหมวก   เพื่อความสวยงามและประโยชน์ในการใช้งาน  จนกลายเป็นอาชีพเสริมจากอาชีพทำไร่ทำนาของกลุ่มผู้สูงอายุผลิตจากต้นกก ซึ่งเป็นพืชล้มลุกคล้ายหญ้า มีหัวคล้ายข่าแต่เล็กกว่าปลายลำต้นมีดอก ขยายพันธ์ด้วยวิธีแยกหัวที่แตกแขนงเป็นหน่อเป็นพืชเส้นใยที่ปลูกและเจริญงอกงามได้ดีในประเทศไทยซึ่งมีความสนใจที่จะทำผลิตภัณฑ์สามารถนำมาแปรรูปเป็นเสื่อกก สานหมวก สานกระเป่า กล่องใส่กระดาษทิชชู่







แหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี



เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีเนื้อหาสาระด้านศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีการแห่กลองยาว (ซิ่ง สุรินทร์ หินใหญ่)
เจ้าของ         นายสุรินทร์   ดีสร้อย
Facebook  สุรินทร์   ดีสร้อย    ID Line  0621970657
ที่อยู่     23   หมู่  ๑  บ้านทมนางาม  ต.ทมนางาม  อ.โนนสะอาด  จ.อุดรธานี
เบอร์โทรศัพท์ 0621970657

                   คณะกลองยาว หรือวงกลองยาวซิ่งพ่อสุรินทร์หินใหญ่  ก่อตั้งขึ้นปี2561 ได้รับการปรับปรุงพัฒนา ประยุกต์รูปแบบนำเสนอใหม่ และกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ในภูมิภาคอีสาน คณะกลองยาว นิยมใช้สำหรับประกอบขบวนแห่ต่างๆ คณะกลองยาว ตามหมู่บ้านทมนางาม ใช้กลองยาวเป็นเครื่องดนตรีหลัก โดยใช้กลอง ประมาณ ๓-๕ ลูก ไม่มีพิณหรือแคนบรรเลงลายประกอบ อาศัยลวดลายของ จังหวะกลอง และลีลาการตีฉาบใหญ่ เป็นสิ่งดึงดูด ซึ่งคณะกลองยาวนี้ ยังไม่มีขบวนนางรำ ฟ้อนรำประกอบขบวนแห่ มีเครื่องแต่งกายเป็นเอกลักษณ์ มีการจัดรูปแบบขบวน ตกแต่งรถสำหรับขบวนแห่แบบต่างๆ เป็นต้น ซึ่งนี่คือตัวอย่างแห่งศิลปวัฒนธรรมที่ไม่หยุดนิ่ง โดยมีพ่อสุรินทร์ ดีสร้อย ผู้ใหญ่ หมู่ 1 บ้านทมนางามเป็นผู้นำคณะกลองยาว






แหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมอาชีพ การเพาะเห็ดฟาง เห็ดโคนน้อย

ผลิตภัณฑ์         การเพาะเห็ดฟาง
เจ้าของกิจการ       นายสุริยา     สิงห์สุโต  
Facebook  เห็ด.ฟาง.โคนน้อย อุดรธานี     ID Line  0828461306
ที่อยู่   176/1    หมู่  1  บ้านทมนางาม  ต.ทมนางาม  อ.โนนสะอาด  จ.อุดรธานี
เบอร์โทรศัพท์ 0828461306
               นายสุริยา     สิงห์สุโต   บ้านทมนางาม เป็นแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมอาชีพ การเพาะเห็ดฟาง เห็ดโคนน้อย  ที่มีความรอบรู้เรื่องการทำการเกษตรที่หลากหลาย  จึงมีแนวคิดการแนะนำให้ชาวบ้านเพาะเห็ดฟาง เห็ดโคนน้อย ซึ่งสามารถหาวัตถุดิบได้ง่ายในพื้นที่ เพราะมีต้นทุนทางธรรมชาติอยู่แล้ว สมาชิก จึงพร้อมใจกันจัดทำโครงการเพาะเห็ดฟาง เห็ดโคนน้อยเพื่อจะเป็นการพัฒนาให้เป็นอาชีพเสริมให้แก่คนในชุมชนต่อไป ทางศูนย์เรียนรู้ยังมีการจำหน่ายเชื้อเห็ดฟางและ เห็ดโคนน้อย อยู่และจะพัฒนาให้เป็นสินค้า OTOP ในอนาคต






หมวดหมู่แหล่งเรียนรู้   หมวดภูมิปัญญาหรือปราชญ์ชาวบ้าน


สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง
ที่อยู่   199   หมู่  1  บ้านทมนางาม  ต.ทมนางาม  อ.โนนสะอาด  จ.อุดรธานี  41240

             นายถนอม  วิบูลย์กุล เป็นผู้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นระยะเวลา 30 ปี เน้นความพอเพียง     ทำแต่พอประมาณ พึ่งพาตนเอง ใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ ทำการจดบัญชีครัวเรือน และบันทึกข้อมูลการทำการเกษตรเพื่อวิเคราะห์วางแผนการผลิต มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเสียสละ และมีใจเป็นจิตอาสาในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์การทำการเกษตรแก่ผู้สนใจ มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในพื้นที่ 15 ไร่ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ด้วยการทำนาและเลี้ยงสัตว์ การปลูกผักผลไม้ ปลอดสารพิษ เช่น  มะนาว มะละกอ หน่อไม้ กล้วยน้ำว้า มะพร้าว พริก มะเขือ  เป็นต้น ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP พืช) ผลิตปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ในไร่นา เพื่อลดต้นทุนการผลิต และหาวิธีการลดต้นทุนการผลิต เพื่อสร้างความระมัดระวังด้านการประกอบอาชีพ และวางแผนการใช้จ่ายในครอบครัวอย่างเป็นระบบ มีการบริหารจัดการเวลา ทำงานเพื่อส่วนรวมและชุมชน เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต เป็นที่ยอมรับของคนในชุ มช





แหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมอาชีพ การทำไม้กวาดดอกหญ้า


ผลิตภัณฑ์         การทำไม้กวาดดอกหญ้า
เจ้าของกิจการ       นางเรียมจิต   วิเศษวุฒิ 
Facebook  Riamjit  Wisetwut    ID Line  0857538157
ที่อยู่   157    หมู่  3  บ้านทมป่าข่า  ต.ทมนางาม  อ.โนนสะอาด  จ.อุดรธานี
เบอร์โทรศัพท์   0857538157

  ไม้กวาดดอกหญ้า 1 อัน จะประกอบด้วย ตัวด้าม ที่ทำจากไม้ไผ่ ดอกหญ้า และเชือกสำหรับมัดดอกหญ้าเข้ากับด้าม ที่สนใจคือการผูกเชือกที่ถักปมเพื่อมัดดอกหญ้าว่าเค้ามัดกันอย่างไร
จนวันหนึ่งจึงได้ลองนำไม้กวาดที่บ้านมารื้อดูจนพบวิธีการมัดเชือก แต่ก็ยังไม่ลงมือทำ จนมีการตั้งกลุ่มชุมชนขึ้นมา พร้อมนำความรู้ในการทำไม้กวาดดอกหญ้ามาถ่ายทอดให้กับชาวบ้าน
จากนั้นได้มีการรวมกลุ่มการทำไม้กวาดดอกหญ้าในชุมชนเพื่อส่งขาย เป็นรายได้เสริมให้กับกลุ่ม
ไม้กวาดดอกหญ้านั้น มี 2 แบบ คือ ไม้กวาดดอกหญ้าที่ปลายมีลักษณะโค้ง  ได้รับอิทธิพลการทำไม้กวาดดอกหญ้า อีกแบบเป็นไม้กวาดดอกหญ้าแบบปลายตรง หรือทรงหางช้าง ซึ่งเป็น การทำไม้กวาดดอกหญ้าในอดีตนั้น ด้ามและเชือกที่มัดจะใช้เป็นหวาย
แต่ปัจจุบันหวายนั้นหาได้ยากจึงได้นำไม้ไผ่มาทำเป็นด้ามและใช้เชือก พลาสติกมาถักมัดแทนเนื่องจากหาง่ายและมีคุณสมบัติคงทนเช่นกัน ปัจจุบันขายไม้กวาดในราคาอันละ 50 บาท


ผู้ที่สนใจอยากจะเรียนรู้การทำไม้กวาดดอกหญ้าเพื่อที่จะนำไปทำเป็นอาชีพสามารถมาเรียนรู้ได้ที่












ภูมิปัญญา/แหล่งเรียนรู้

องค์การบริหารส่วนตำบลทมนางาม




             องค์การบริหารส่วนตำบลทมนางาม เดิมเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตการปกครองของตำบลสีออ อำเภอกุมภาวาปี ราษฎรชุดแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณตำบลทมนางาม อพยพมาจากอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๔ ต่อมาตำบลบุ่งแก้วแยกออกจากตำบลสีออ จึงย้ายการปกครองขึ้นอยู่กับตำบลบุ่งแก้ว และเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑ แยกการปกครองออกจากตำบลบุ่งแก้ว มาเป็นตำบลทมนางามขึ้นกับอำเภอโนนสะอาด โดยแบ่งการปกครอง ๑๐ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ ๑ บ้านทมนางาม หมู่ ๒ บ้านทมป่าข่า หมู่ ๓ บ้านทมป่าข่า หมู่ ๔ บ้านทมนาดี หมู่ ๕ บ้านหาดสถาพร หมู่ ๖ บ้านห้วยหมากหล่ำ หมู่ ๗ บ้านค้อน้อย หมู่ ๘ บ้านหนองไผ่ล้อม หมู่ ๙ บ้านทมนางาม หมู่ ๑๐ บ้านทมนาดี 
             องค์การบริหารส่วนตำบลทมนางาม เป็นอีกส่วนหนึ่งแหล่งเรียนรู้ที่มีเครื่องมือทันสมัย เช่นมีเครื่องคอมพิวเตอร์  มีอินเตอร์เน็ต  เครื่องถ่ายเอกสาร  ที่คอยไว้บริหารประชาชน


แหล่งเรียนรู้ประเภทจักสาน


ผลิตภัณฑ์         การสานผลิตภัณฑ์จากเส้นกก
เจ้าของกิจการ       นางรัดดาวรรณ     อุดมพันธ์
ที่อยู่                  หมู่  ๓  บ้านทมป่าข่า  ต.ทมนางาม  อ.โนนสะอาด  จ.อุดรธานี
อาชีพหลักของชุมชน/กลุ่ม      คือ    ทำนา
อาชีพรองของชุมชน/กลุ่ม      คือ   ทำไร่
ปัญหาที่พบและสิ่งที่ชุมชนต้องการ   คือ   หากลุ่มคนที่ต้องการสานยาก
จำนวนประชากร         จำนวนสมาชิก    ๕  คน
แนวทางการวิเคราะห์และแนวทางแก้ไข    หาชาวบ้านมาร่วมกลุ่มกันทำเป็นอาชีพเสริม



แหล่งเรียนรู้ประเภทเกษตรผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง




เจ้าของกิจการ       นายประเสริฐ   ศรีทาพุฒ
ที่อยู่              ๕๘   หมู่  ๒   บ้านทมป่าข่า  ต.ทมนางาม  อ.โนนสะอาด  จ.อุดรธานี
อาชีพหลัก คือ    เกษตรกรรม




โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทมป่าข่า


           “อโรคยา   ปรมา  ลาภา  การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” นี่คงเป็นคำกล่าวที่ทุกคนล้วนปรารถนา  แต่ก็คงไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้  ดังนั้นที่สถานที่จะคอยอำนวยความสะดวกและป้องกันที่ดีนอกจากการดูแลตัวเองแล้ว  การพึ่งผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย  ซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่ว่านี้ก็คือ   สถานีอนามัยทมป่าข่า    
               สถานีอนามัยทมป่าข่า ตั้งอยู่ที่บ้านทมป่าข่า   หมู่ที่  ๓   ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านทมป่าข่า  โดยมีพนักงานและเจ้าหน้าที่คอยให้บริการประชาชนด้วยความเต็มใจ  นอกจากจะคอยบริการด้านการรักษาพยาบาลแล้วยังมีหนังสือคอยบริการประชาชน 





โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทมนางาม


           “อโรคยา   ปรมา  ลาภา  การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” นี่คงเป็นคำกล่าวที่ทุกคนล้วนปรารถนา  แต่ก็คงไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้  ดังนั้นที่สถานที่จะคอยอำนวยความสะดวกและป้องกันที่ดีนอกจากการดูแลตัวเองแล้ว  การพึ่งผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย  ซึ่งผู้เชี่ยวชาญที่ว่านี้ก็คือ   สถานีอนามัยทมป่าข่า    
               สถานีอนามัยทมนางาม ตั้งอยู่ที่บ้านทมนางาม   หมู่ที่  ๑   ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน โดยมีพนักงานและเจ้าหน้าที่คอยให้บริการประชาชนด้วยความเต็มใจ  นอกจากจะคอยบริการด้านการรักษาพยาบาลแล้วยังมีหนังสือคอยบริการประชาชน 



                                                                                                                                  
แหล่งน้ำของชุมชน


              แหล่งน้ำแห่งนี้มีชื่อว่า   หนองบ้าน      เป็นหนองน้ำของหมู่บ้านซึ่งได้เล็งเห็นปัญหาชาวบ้านในหน้าแล้งที่ขาดน้ำอุปโภค  บริโภค  จึงได้จัดทำเป็นน้ำประปาของหมู่บ้านเพื่อใช้ในหมู่บ้านทมป่าข่า  หมู่ที่  ๒,๓,๘   และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ  ไม่ว่าจะเป็น  พันธุ์ไม้  สัตว์น้ำ  เป็นต้น



              
แหล่งน้ำแห่งนี้มีชื่อว่า  “ อ่างเก็บน้ำห้วยทราย”   


เป็นอ่างเก็บน้ำหมู่บ้านซึ่งได้เล็งเห็นปัญหาชาวบ้านในหน้าแล้งที่ขาดน้ำอุปโภค  บริโภค  จึงได้จัดทำเป็นน้ำประปาของหมู่บ้านเพื่อใช้ในหมู่บ้านทมนางาม  หมู่ที่  ๑,๔,๙,๑๐   และเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็น  พันธุ์ไม้  สัตว์น้ำ  เป็นต้น

                        


โรงเรียนชุมชนทมป่าข่า


                โรงเรียนชุมชนทมป่าข่า ตั้งอยู่ที่บ้านทมป่าข่า หมู่ที่  ๒   เปิดสอนสายสามัญ  ระดับประถมศึกษา   ปีที่  ๑  ถึงประถมศึกษาปีที่  ๖  และยังเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ถึงมัธยมศึกษาปีที่  ๓  ซึ่งมีแหล่งเรียนรู้นอกจากวิชาการ  โรงเรียนชุมชนทมป่าข่ายังมีการทำสวนสาธิตต่าง ๆ ให้นักเรียนได้นำไปประยุกต์ประกอบใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน  ซึ่งมีการบูรณาการที่ดีอีกวิธีหนึ่ง





โรงเรียนหาดสถาพร


                โรงเรียนบ้านหาดสถาพร  ตั้งอยู่ที่บ้านหาดสถาพร หมู่ที่  ๕  เปิดสอนสายสามัญ  ระดับประถมศึกษา   ปีที่  ๑  ถึงประถมศึกษาปีที่  ๖    ซึ่งมีแหล่งเรียนรู้นอกจากวิชาการ  โรงเรียนหาดสถาพร  ยังมีการทำสวนสาธิตสมุนไพรต่าง ๆ ให้นักเรียนได้นำไปประยุกต์ประกอบใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน  ซึ่งมีการบูรณาการที่ดีอีกวิธีหนึ่ง




วัดศรีชมพู


วัดศรีชมพู  ตั้งอยู่ที่ บ้านทมป่าข่า  หมู่ที่  ๒  อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน  เหมาะสำหรับนักปฏิบัติธรรม มีความเงียบสงบ และภายในบริเวณวัดก็มีความร่มรื่น  วัดทรงธรรมนี้ได้ก่อตั้งมาพร้อม ๆ กับหมู่บ้าน  ด้วยจิตศรัทธาของชาวบ้านทีได้รวมความสามัคคีและการเสียสละเวลา  แรงกาย  และแรงใจร่วมกันสร้างและบูรณาการให้มีความเจริญสืบไป




วัดบัวระพา


             วัดบัวระพา บ้านทมนางาม  มีการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น และมีความเชื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนทุกคนให้รักใคร่ปองดองกัน  มีการทำบุญในวันสำคัญต่าง ๆ ตามพุทธศาสนา  (ฮีต  ๑๒  คลอง ๑๔) เช่น การทำบุญตักบาตร การเวียนเทียนในวันเข้าพรรษา  ประเพณีบุญบั้งไฟ  วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ฯลฯ รวมถึงการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของหมู่บ้านที่มีมานานตั้งแต่บรรพบุรุษไว้อย่างเคร่งครัด




  วัดป่าศรีอุดมรัตนาราม


 ประวัติความเป็นมา
             วัดป่าศรีอุดมรัตนาราม ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่  ๓  บ้านทมนางาม    หมู่ที่   ๑  ตำบลทมนางาม  อำเภอโนนสะอาด     จังหวัดอุดรธานี   วัดนี้ได้สร้างมาแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕  โดยพระอาจารย์ประเทือง  อุตฺตโม  ท่านได้เดินลงจากเขาลงมาสู่  ณ  สถานที่ทับจ่า  ซึ่งชาวบ้านชอบเรียกกันติดปาก  เมื่อท่านได้มาเห็นฐานที่นี่  ก็จับจิต  จับใจ  ท่านจึงปักกลดที่นี่เป็นวันแรกเมื่อวันที่  ๕  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๐๕  และก็มีโยมมาอุปัฏฐากอยู่  ๔  คน  คือ  นายน้อย   แวงสงค์   นายลี  ชุมแวงวาปี   นายยา  โพธิ์ศรี  และนายชู  ฝ่ายแก้ว ทั้งสี่ท่านนี้เป็นผู้อุปถัมภ์  พระอาจารย์ประเทืองจึงดำริชอบขึ้นมาในใจแล้วก็เอ่ยปากพูดกับคุณโยมทั้ง ๔  ว่า  อาตมาจะมาสร้างวัดขึ้น  ณ  ที่นี้  จะเห็นดีเห็นชอบไหมคุณโยม  สาธุพวกกระผมเห็นด้วยและพวกกระผมจะเป็นผู้ช่วยทำและบำรุงรักษาต่อไป  จนกว่าชีวิตของพวกกระผมจะหาไม่  เมื่อตกลงกันเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย  ในเมื่อได้ตกลงกันทั้งสองฝ่ายแล้ว  ก็มีคุณโยม  ยา  และโยม  ลี ได้ปรึกษาหารือกันว่าที่ตรงนี้  เป็นที่ของอาจารย์สมยง  ปรีชาเดช   เป็นอาจารย์สอนอยู่ โรงเรียนบ้านทมนางาม
นี้เอง  แล้วโยมทั้งสอง  จึงไปเรียนถามว่า  อาจารย์สมยงมีที่ดินหัวไร่ปลายนาของอาจารย์  ที่พระอาจารย์ประเทืองมาปักกลดนั้น  ท่านจะเสียสละได้ไหมเพื่อสร้างวัดป่าขึ้นมา  ซึ่งเป็นสถานที่บำเพ็ญธรรมของพระธุดงค์กรรมฐาน   และพวกเราก็จะได้ทำบุญทำทาน  และเต็มใจ  จึงเสียสละที่ดินแปลงนี้มีจำนวน  ๒๘๘  ไร่  และก็ได้อุบาสกอีกรวมเป็น  ๕  ท่านด้วยกัน  เมื่อที่ดินก็ได้แล้วแรงใจใสศรัทธาก็พร้อม   แล้วพากันไปกราบเรียนพระอาจารย์ประเทืองว่าพวกกระผมพร้อมแล้วจะลงมือสร้างเมื่อใด   พระอาจารย์ท่านพูดออกมาว่า  ลงมือทำวันที่  ๕   ธันวาคม  ๒๕๐๕   แล้วก็ได้ทำการสร้างศาลาวันที่   ๕  นั้นเองคราวนั้นสร้างศาลาหลังเล็ก  ๆ  ก่อน   กว้าง  ๘  ศอก   ยาว  ๑๒  ศอก  
ในการสร้างวัดป่าอุดมรัตนาราม   ตำบลทมยางาม    อำเภอโนนสะอาด  จังหวัดอุดรธานีบันทึกไว้โดย   หลวงพ่อประเทือง   พระสว่าง  เป็นผู้ลอกคัดลอกมาจากสมุดบัญชีที่หลวงพ่อประเทือง  เขียนไว้มีเนื้อความดังต่อไปนี้เมื่อถึง ปี พ.ศ. ๒๕๐๕  พอออกพรรษาได้  ๖  วัน  ตรงกับวันที่  ๑๙  ตุลาคม  ๒๕๐๕  ไดรับนิมนต์จากท่านเจ้าคุณอริยะ   เจ้าอาวาสวัดเขาสวนกวาง  ให้ลงมาช่วยงานรับกฐิน  ซึ่งมีนายทหาร  จังหวัดนครราชสีมานำมาถวาย  เมื่องานกฐินเสร็จแล้ว  พอถึงวันที่  ๒๓  พฤศจิกายน  ๒๕๐๕  ตามกำหนดที่จะออกเดินทางครั้งนั้น  มีพระติดตามไปด้วย  ๒  องค์  คือ  พระอาจารย์ไว  ปภากโร  อีกองค์  พระอาจารย์มหาสมบูรณ์  ทั้งสองท่านเป็นคนชาวกรุงเทพฯ  โดยกำเนิดเมื่อได้พักวิเวกปักกลดอยู่ภูเขาเล็ก ๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้  บ้านทมนางาม  ห่างจากหมู่บ้าน  ๓  กิโลเมตร  ปักกลดอยู่ที่นี่  ตั้งแต่วันที่  ๒๓  พฤศจิกายน   ๒๕๐๕   จนถึงวันที่  ๑๖  ตรงกับแรม  ๕  ค่ำ  วันอาทิตย์  พ.ศ. ๒๕๐๕  อาจารย์สมยง  ปรีชาเดช  อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านทมนางาม  ได้มีศรัทธาอยากจะถวายที่ดินเพื่อให้สร้างวัด  เป็นที่อาศัยของพระฝ่ายวิปัสสนาธุระ  ที่เดินธุดงค์มาจากทิศต่าง ๆ ครั้นเมื่อได้ฤกษ์งามยามดี  อาจารย์สมยงและชาวบ้าน  หลายคนด้วยกันอาทิเช่น  นายน้อย  เวียนสงค์   นาบลี  ชุมแวงวาปี    นายลี  วิเศษวุฒ  นายยา  โพธิ์ศรี  นายเป็ด  อ่อนสุด  นายบุญนำ  วิเศษวุฒ  และโยมผู้หญิงอีกสองคน  คือ  นาง  ปรีชาเดช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น